แก้ปัญหาน้ำยั่งยืน รองผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมฯ เปิดระบบท่อส่งน้ำป้อนนิคมอุตสาหกรรม เวลโกรว์ ขานรับอีอีซี (ชมคลิป)

loading...

แก้ปัญหาน้ำยั่งยืน รองผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมฯ เปิดระบบท่อส่งน้ำป้อนนิคมอุตสาหกรรม เวลโกรว์ ขานรับอีอีซี

 

[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=vB5EKQh7Xmk[/embedyt]

 

วันนี้ ( 21 พ.ค. 2563 ) ที่โรงผลิตน้ำประปานิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ อ.บางปะกง จ ฉะเชิงเทรา นายจักรรัฐ เลิศโอภาส รองผู้ว่าการ สายงานปฎิบัติการ 2 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพร้อมด้วยนางจริยา ลิ่มอติบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเวลโกรว์ อินดัสทรีส์ จำกัด นายกิตติ เหลืองรุจินันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์

และนายธีระ พรชูตรง นายอำเภอบางปะกง นายธนวัฒน์ สันตินรนนท์ กรรมการผู้จัดการ บ.ไทยอินดัสเตรียล วอเตอร์ รีซอร์ส แมนเนจเม้นท์ จำกัด ( IWRM )นายสุชาติ ซื่อสัจจกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทย- เอเซีย พี.อี. ไพ้พ์ จำกัด โดยมี นายวิเชษฐ์ เกตุแก้ว ผู้ประสานงานโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน ร่วมพิธีเปิดท่อส่งน้ำแก้ไขปัญหาภัยแล้ง นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ อย่างยั่งยืน

ซึ่งเป็นไปตามแผน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินสถานการน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)และได้มีมาตรการในการแก้ปัญหาความต้องการใช้น้ำ ในพื้นที่ในลักษณะการเชื่อมโยงโครงข่ายน้ำ ทั้งแผนระยะสั้น ระยะกลางและ แผนระยะยาว


ทั้งนี้ปัญหาภัยแล้งเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการเร่งแก้ไขปัญหาให้กับทุกภาคส่วน นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ที่ประสบปัญหาปริมาณน้ำมีไม่เพียงพอความต้องการใช้น้ำ จึงได้วางแผนวางท่อส่งน้ำจากสระเอกชนเพื่อเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการวางระบบท่อเพื่อแก้ไขปัญหาแบบถาวร ปัจจุบันได้ดำเนินการวางท่อแล้วเสร็จ (ระยะที่ 2-3) และพร้อมจ่ายน้ำเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมได้ในวันนี้ (21 พ.ค.63) สำหรับการวางระบบท่อเพื่อการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่อีอีซี เป็นการเร่งด่วน โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 จากสถานีผลิตน้ำมรกตสยามไปถึงสถานีผลิตน้ำพานทอง ระยะทาง 10.8 กม.

ระยะที่ 2 จากสถานีผลิตน้ำพานทอง เข้าสู่สถานีเพิ่มแรงดันน้ำบางปะกงระยะทาง 8.5 กม. และระยะที่ 3 จากสถานีเพิ่มแรงดันน้ำบางปะกง ส่งต่อไปยังนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ระยะทาง 15 กม. โดยมี พลเรือเอก พิเชฐ ตานะเศรษฐ หัวหน้าคณะทำงานกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค สำหรับรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) / กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ /การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย / กรมเจ้าท่า/กรมชลประทาน / และภาคเอกชน เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง อย่างยั่งยืนโดยเร่งด่วน ทั้ง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับ โครงการ อีอีซี

นายจักรรัฐ เลิศโอภาส รองผู้ว่าการ สายงานปฎิบัติการ 2 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สำหรับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ซึ่งขณะนี้กำลังประสบปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำพร่องในช่วงฤดูแล้ง ทำให้ป้อนน้ำเข้าสูภาคอุตสาหกรรมไม่ได้ โดยเฉพาะพื้นที่ปลายน้ำ จ.ฉะเชิงเทรา จะมีน้ำจำกัด ซึ่งเดิมใช้น้ำจากแหล่งน้ำในพื้นที่ และจาก อีสต์วอเตอร์ ป้อนน้ำให้ และไม่เพียงพอ ทางภาครัฐได้เข้ามาดูแลเรื่องน้ำเพื่อให้สามาถมีน้ำใช้ไปจนถึงเดือนมิถุนายน

ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีฝนตกลงมา โดยเราขอให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมลดปริมาณการใข้น้ำลง 10 % และล่าสุดทางนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ก็ได้ทางภาคเอกชน (บ. IWRM ) ที่มีบ่อน้ำเข้ามาดูแลผลิตน้ำปะปาส่งให้ โดยสามารถผลิตและส่งน้ำ ด้วยการวางท่อระยะทาง 32 กม.ลอดแม่น้ำบางปะกง ส่งเข้ามา ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ อาทิ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมเจ้าท่า องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จนสามารถดำเนินการส่งน้ำได้ก่อนเป้าหมายที่วางไว้


สำหรับโครงการอีอีซี ซึ่งรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนส่งเสริมอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเรื่องสาธารณูประโภค ปัญหาภัยแล้ง รัฐบาลถือเป็นนโยบายระดับประเทศ โดยรัฐบาล และสำนักงานทรัพยากรน้ำ (สทนช.)ได้วางแผนงาน และจัดวางโครงข่ายไว้ดูแลผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมให้สามารถมีน้ำใช้ได้อย่างยั่งยืน และคาดว่าหลังปัญหาวิกฤตไวรัสโควิส -19 จบลง โครงการอีอีซี ซึ่งเป็นเป้าหมายของนักลงทุนจากประเทศจีน ที่จะเข้ามาใช้เป็นฐานการผลิต สินค้าหลักในการผลิตสินค้า จะสามารถกลับมาเดินหน้าต่อไปได้

ด้าน นายธีระ พรชูตรง นายอำเภอบางปะกง เผยว่า อำเภอบางปะกง ได้ช่วยประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในการวางท่อส่งน้ำ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบและอำนวยความสะดวกแก่การสัญจรของประชาชน ซึ่งก็สำเร็จไปด้วยดี และระบบส่งน้ำนี้น่าจะตอบโจทย์ ในเรื่องของปะปา กับภาคธุรกิจต่างๆ ที่จะเกิดตามมากับโครงการอีอีซี ซึ่งเราดำเนินการทั้งระบบไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า ถนนหนทางไปพร้อมๆ กัน เพื่อรองรับโครงการอีอีซี ที่จะเกิดขึ้น

Related posts